มาดูไม้อื่นกันบ้าง บ้านนี้ไม่ได้มีแต่สัปรดหนามอย่างเดียว
ผู้ชนะ 20 ทิศ
เริ่มกับมาฺฮิต Xero
เอาตระก้อ ไม้แขวนเสื่อมาปัดฝุ่น
Aec. แปลกๆ ก็มี Aec. gustavoi ใบยาวมีจุด
Tree Alo 'fox' อะไรซักอย่างแหละ
พวกไม้โขด ก็ยังมี Adenia
Medusa สีหวานๆ
อลังการงานสร้าง ไม้ที่ใฝ่ฝันมานาน จะเอาอยู่ไหมเนี้ย
คนรัก panchypodium ต้องมี
นี่ก็เหมือนกัน
ต้นนี้ใครซื้อไม้รอบก่อนๆจะได้รับแจก
เมื่อก่อนเป็นกระปุกสวย เดี่ยวนี้ยาวเป็นเสาไฟฟ้า
ยักษ์ใหญ่สุดที่มีในบ้าน
ไม้ในป่า
มาดากาสก้า... เอนซีส
งูเขียวหางพู่
มุมกว้าง
หนามเริ่มแดงแสดงว่าไม้สดชื่นดีแล้ว
แต่อย่างไรเสีย ก็ยังรัก Dyckia เสมอ
ตั้งแต่จำความได้ ก็ชอบสิ่งเหล่านีแล้ว ต้นไม้ ,ปลา ต้นไม้ เลี้ยงมาหลากหลายมาก ตั้งแต่กล้วยไม้ป่า ,ไม้ขวด มา ไม้โขด , มา Til จนกระทั้ง ปัจจุบัน Dyckia อยู่กับเค้าได้เป็นวันๆ กลางคืนยังนั่งตากยุงเปลี่ยนกระถ่างแยกหน่อได้เลย 555 บ้าปะ
วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557
อาโกว "แดง"
วันนี้เรามาชม คู่ผสม goehringii Spectment ที่ผมทำไว้ บางต้นโตพอจะยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้แล้ว
หน้าตาแปลกๆ หนาม Arizona ไปไหน มีแต่หนามแบบ ห่างๆ ของ goehringii ให้เห็น
เข้ากับ Arizona F1 หนาม Arizona ก็ยังไม่เห็น ชักงง + งง
มุมนี้ เห็นตุ่มหนามชัดเจน แบบ goehringii
หลังจากแยกต้นใหญ่ออก พวกที่เหลือ โตเอาโตเอา แซงต้นที่แยกไปซะงั้น
ยังไม่เห็นหนาม arizona ซักกะต้น
ใบขาวๆ มีแป้งฉาบ ทั้งบนใบและใต้ใบ หนามถี่ๆ แบบฟาโร ค่อยชื่นใจหน่อย
Pot นี้ รอดมาไม่เยอะ แต่ได้แนวพ่อมาเห็นๆ goehringii Spectment X dagota เห็นหนาม fosterana ทรงใบยาวๆแหลมๆ ชัดเจน
เล็งแล้วเล็งอีก ยังไม่เห็นด่าง แต่เห็นหนาม fosterana ก็ดีใจแล้ว แต่ไม่แน่นะ โตขึ้นอาจด่างก็ได้ เพราะถ้าด่างแต่เล็ก มักไม่รอด
Pot นี้ เป็นคำถาม ครับ รอดมาไม่กี่ต้น ไม่รู้จะพาถึงฝั่งไหม
สงกราณต์ นี้ไม่อยู่บ้านด้วยสิ เพาะพร้อมๆกับ ต้นข้างบน ไม่ค่อยจะโตเลย
ให้ดูชัดๆ อีกที กลางคืน Focus ชัดสุด ได้เท่านี้ คำถามคือ
Pot นี้ เป็น goehringii Spectment X ??? กับตัวไหน ลองทายกันมา
ปิดรับคำตอบและเฉลย เที่ยงคืนวันเสาร์นี้ (22 มี.ค.) ครับ ทายแล้วท่ายใหม่ได้ ไม่จำกัดจนกว่าจะหมดเวลา ถือคำตอบหลังสุดเป็นคำตอบสุดท้าย ใครทายถูกท่านแรก รับของรางวัลได้ที่พี่ Q 555 ล้อเล่น อิๆๆ
ใครท่ายถูกท่านแรก รับ เมล็ด Xdyckcohnia 'Conrad Morton' 1 ดอก 3 พู่ เป็นของรางวัล
คำตอบ ให้ตอบใน blog ผมนี้นะ ตอบใน pantown ไม่นับนะครับ เกรงใจพี่เขา
วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557
goehringii X pectinata
Dyc. pectinata seeding ตามแบบ ฉบับ ที่ควรจะเป็นของ pec
ส่วน goehringii คิดว่าน่าจะเป็น ของลุงคอนฯ
ส่วน goehringii คิดว่าน่าจะเป็น ของลุงคอนฯ
Dyc. goehringii X pectinata #1 ใหญ่ที่สุดครับ
อีกมุม เริ่มให้หน่อแล้ว แต่พัฒนาการก็ยังไม่หยุด
Dyc. goehringii X pectinata #2 หนามกับใบเริ่มพัฒนา
Dyc. goehringii X pectinata #3 ต้นนี้หนามตรง โดนๆ รอใหให้ใบสั้นกว่านี้ก่อน ฮืมมม
อีกซักรูป
Dyc. goehringii X pectinata #4 ต้นนี้ หนามแปลก ขึ้นติดกันเป็นแผง
อีกมุม
Dyc. goehringii X pectinata #5 หนามสวย แต่ใบไหม้ เดี่ยวก็หายเป็นการดีที่จะเคลียร์ใบเก่า ที่ไม่สวยอย่างรวดเร็ว 5555
ด้านข้าง ใบไหม้แค่นี้จิ๊บๆ จะได้สลัดใบเก่ายาวๆ สร้างใบใหม่เลย
Dyc. goehringii X pectinata #6 ยังเล็กหนามเลยยังไม่เด่น
Dyc. goehringii X pectinata #7 หนามสั้นๆ ไม่ค่อยเหมือนพี่น้อง
Dyc. goehringii X pectinata #8 ต้นนี้หนามท่าจะดี
พวกนี้ยังมีการพัฒนาอีกเยอะ คงต้องติดตามกันต่อไป
เทพฯ S1 เอามาโชว์บ้าง
วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557
โม้เรื่องเก่า - เล่าความหลัง
เมื่อราว 10 ปีก่อน ผมเริ่มรู้จะไม้สกุล BROMELIADS ก็จาก เริ่มจาก Tillansia ไม้อะไรหว่า ปลูกได้โดยไม่ต้องใช่ดิน ไม่ต้องรดน้ำก็อยู่ได้
จึงเริ่มศึกษา หาความรู้ตาม web แต่ก็มีแต่ ภาษาปะกิจ พิมพ์ออกมา เปิด Dic แปล กันจนเมื่อย พร้อมๆกับเริ่มเก็บสะสม Til ทั้งหลาย ตัวไหนเห็นใน Net สวย อย่ากได้ ก็ฝาก เค้าสั่งเข้ามา โดยไม่รู้เลย ว่า เลี้ยงบ้านเรา ไม่รอดหรอก ต่อให้เลี้ยงที่ เชียงใหม่ก็เถอะ (แต่หลังๆ ไม้ที่เลี้ยงบ้านเราไม้ได้ ก็พอเลี้ยงได้แล้วนะ น่าจะเป็นไม้ที่เกิดในบ้านเราที่ปรับสภาพได้ ) แสวงหาความรู้จากที่ต่างๆ จนในที่สุด ก็ได้หนังสือเล่มนี้มา
(**** ขออนุญาต ท่านเจ้าของหนังสือ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ ที่เอาภาพบางส่วนของหนังสือมาลง มิได้มีเจตนาใดๆ เพี่ยงแค่อยากถ่ายทอดประสบการณ์ ให้เพื่อนๆ ได้ รู้เท่านั้น ****)
บรอมีเลียด โดย รองศาสตราจารย์ จารุพันธ์ ทองแถม
จำได้ว่า กว่าจะได้มาเล่นเอาเหนือย ตาหาที่งานหนังสือ บุกไปถึงสำนักพิมพ์ โทรไปหาที่โรงพิมพ์ ต่างก็บอกว่าไม่มีแล้ว เค้าเลิกพิมพ์แล้ว เช็คไปที่ ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ เย้ยๆๆๆ เหลืออยู่เล่มเดียว วันนั้นลางานเลย แล้วก็ได้มาครอบครองสมใจอยาก เวอร์ไปเปล่า ก็ตามหัวข้อเลย 5555
หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างครอบคลุมมากมาย เล่าตั้งแต่อนุกรมวิธาน แหล่งกำเนิด การแบ่งแยกชนิด ตลอดจนถึง การผสมเกสร แม้กระทาง สัปรด ผลไม้ทางเศษกิจ
ในแต่ละสกุล มีตัวอย่างมีคำอธิบาย แบบวิชาการ แต่อ่านแล้วไม่น่าเบื่อ โดยเฉพาะ Til มีให้อ่านอย่างจุใจ
พวกไม้หนาม ก็ไม่น้อยหน้า จนทำให้ผมหลงเสนห์ไม้หนามได้ไม่ยาก
เลยต้องตามหาเจ้าตัวนี้มาให้ได้ แล้วก็ได้มา เลี้ยงจนกระทั่งออกดอก ได้เกสรให้พี่ Q ไปผสม ไม้ข้ามสกุลแปลกๆ ให้พวกเราได้เล่นกัน
Dyc.frigida หน้าตาแบบนี้เอง มีใครมีไหม ผมว่าฟอร์มมันสวยดี แผ่แบนๆ
Dyc.fosteriana แท้ๆ เป็นแบบนี้ แต่ fosterฯ บ้านเรา ไม่เห็นมีหน้าตาแบบนี้เลย ใบชี้ขี้น ทรงใบและหนาม เหมือนหางจรเข้เลย
สัปรดกินหัว พี่งรู้ว่า มีหลากพันธุ์ มาก ทีแรกนึกว่ามีแค่ พันธุ์ศรีราชา กับ ภูเก็ต เท่านั้น
ใช่ โรเบ้โต้ เปล่านี้ ผมดูไม่เป็น
Till มีให้ดูจุใจ
บางตัวดอกสีชมพูสวยมาก ก็หามาเลี้ยง แต่สุดท้าย บ้านเราความสูงไม่เท่าที่เปรู ก็เลยย้ายกับเทือกเขา แอนดีส
ต้นไหน สกุลไหน แบ่งแยกให้เห็นชัดเจน
ไม่อยากเชื่อ Til และพวก กูสมาเนีย ในคอสตาริกา ขึ้นอยู่กลางทุ่งนา ชายฝั่ง หรือแม่แต่ภูเขาข้างๆทาง
ทำไมถึงเรียกพ่อมดไม้หนาม
ต้นนี้ ไม้แปลก ๆ จนผมต้องตามหามาเลี้ยงให้ได้ แต่เลี้ยงมา เกือบ 4 ปี ยังไม่เห็นมันมีลูกเลยอะ แต่ก็เก็บมาจนครบ 2 ตัวในสกุลนี้
Aec.dichlamydea ดอกมันสวยขนาดนี้เลยหรือ บ้านเรามีหรือเปล่า อยากเห็นดอก ตัวเป็นๆ
Til ในคอสตาริกา เขาเลี้ยงขายเป็นอาชีพมานานแล้ว
เมื่อก่อน ไม่มีกล้อง digital ครับ มือถือ ยังเป็นแบบหิ้ว อย่างกับทหาร อยู่เลย การจะเก็บข้อมูลไว้ Reference ทำได้วิธิเดียว ที่กาๆ นั้น กลับบ้านเก่าไปแล้วนะ
Dyckia ก็มีนะ
เมื่อก่อนจะหนักไปทาง Til Dyckia บ้านเรายังไม่มีเข้ามาเท่าไหรเลย
มีรายละเอียดหมด ไม้มาเมื่อไหร จากใคร ราคาเท่าไหร (ปัจจุบันก็ยังทำอยู่แต่อยู่บน excel แล้ว)
ที่ร่ายมาทั้งหมด ก็แค่อยากให้เพื่อนๆ ศึกษาให้รู้ให้ลึก แล้วเราจะสนุกครับ โม้ได้เยอะ 5555
เอาความหลังมาเล่า หรือเราจะอายุมากแล้ว อิๆๆ
Acanthostachys strobilacea ไม้แปลกๆ ที่ออกลูกที่ใบ แต่เลี้ยงมายังไม่เคยเห็นเลย
Acanthostachys pitcairnioides ไม้อีกตัว ของสกุลนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)