วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

โม้เรื่องเก่า - เล่าความหลัง

   เมื่อราว 10 ปีก่อน ผมเริ่มรู้จะไม้สกุล BROMELIADS ก็จาก เริ่มจาก Tillansia  ไม้อะไรหว่า ปลูกได้โดยไม่ต้องใช่ดิน  ไม่ต้องรดน้ำก็อยู่ได้  

   จึงเริ่มศึกษา หาความรู้ตาม web แต่ก็มีแต่ ภาษาปะกิจ  พิมพ์ออกมา เปิด Dic แปล กันจนเมื่อย  พร้อมๆกับเริ่มเก็บสะสม  Til ทั้งหลาย ตัวไหนเห็นใน Net สวย อย่ากได้ ก็ฝาก เค้าสั่งเข้ามา โดยไม่รู้เลย ว่า เลี้ยงบ้านเรา ไม่รอดหรอก ต่อให้เลี้ยงที่ เชียงใหม่ก็เถอะ (แต่หลังๆ ไม้ที่เลี้ยงบ้านเราไม้ได้ ก็พอเลี้ยงได้แล้วนะ น่าจะเป็นไม้ที่เกิดในบ้านเราที่ปรับสภาพได้ )  แสวงหาความรู้จากที่ต่างๆ จนในที่สุด ก็ได้หนังสือเล่มนี้มา

    (****  ขออนุญาต ท่านเจ้าของหนังสือ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ ที่เอาภาพบางส่วนของหนังสือมาลง มิได้มีเจตนาใดๆ  เพี่ยงแค่อยากถ่ายทอดประสบการณ์ ให้เพื่อนๆ ได้ รู้เท่านั้น ****)

 บรอมีเลียด โดย รองศาสตราจารย์ จารุพันธ์  ทองแถม

       จำได้ว่า กว่าจะได้มาเล่นเอาเหนือย ตาหาที่งานหนังสือ บุกไปถึงสำนักพิมพ์ โทรไปหาที่โรงพิมพ์ ต่างก็บอกว่าไม่มีแล้ว เค้าเลิกพิมพ์แล้ว เช็คไปที่ ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ เย้ยๆๆๆ เหลืออยู่เล่มเดียว วันนั้นลางานเลย แล้วก็ได้มาครอบครองสมใจอยาก  เวอร์ไปเปล่า  ก็ตามหัวข้อเลย 5555



     หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างครอบคลุมมากมาย เล่าตั้งแต่อนุกรมวิธาน แหล่งกำเนิด  การแบ่งแยกชนิด  ตลอดจนถึง การผสมเกสร  แม้กระทาง สัปรด ผลไม้ทางเศษกิจ   

      ในแต่ละสกุล มีตัวอย่างมีคำอธิบาย แบบวิชาการ แต่อ่านแล้วไม่น่าเบื่อ โดยเฉพาะ  Til มีให้อ่านอย่างจุใจ




      พวกไม้หนาม ก็ไม่น้อยหน้า  จนทำให้ผมหลงเสนห์ไม้หนามได้ไม่ยาก

       เลยต้องตามหาเจ้าตัวนี้มาให้ได้  แล้วก็ได้มา เลี้ยงจนกระทั่งออกดอก ได้เกสรให้พี่ Q ไปผสม ไม้ข้ามสกุลแปลกๆ ให้พวกเราได้เล่นกัน



     Dyc.frigida หน้าตาแบบนี้เอง มีใครมีไหม ผมว่าฟอร์มมันสวยดี แผ่แบนๆ


      Dyc.fosteriana แท้ๆ เป็นแบบนี้  แต่ fosterฯ บ้านเรา ไม่เห็นมีหน้าตาแบบนี้เลย ใบชี้ขี้น ทรงใบและหนาม เหมือนหางจรเข้เลย



 สัปรดกินหัว พี่งรู้ว่า มีหลากพันธุ์ มาก ทีแรกนึกว่ามีแค่ พันธุ์ศรีราชา กับ ภูเก็ต เท่านั้น




ใช่ โรเบ้โต้ เปล่านี้ ผมดูไม่เป็น


Till มีให้ดูจุใจ 


    บางตัวดอกสีชมพูสวยมาก  ก็หามาเลี้ยง แต่สุดท้าย บ้านเราความสูงไม่เท่าที่เปรู    ก็เลยย้ายกับเทือกเขา  แอนดีส




   ต้นไหน สกุลไหน แบ่งแยกให้เห็นชัดเจน


     ไม่อยากเชื่อ Til และพวก กูสมาเนีย ในคอสตาริกา ขึ้นอยู่กลางทุ่งนา ชายฝั่ง หรือแม่แต่ภูเขาข้างๆทาง 



ทำไมถึงเรียกพ่อมดไม้หนาม



     ต้นนี้ ไม้แปลก ๆ จนผมต้องตามหามาเลี้ยงให้ได้ แต่เลี้ยงมา เกือบ 4 ปี ยังไม่เห็นมันมีลูกเลยอะ แต่ก็เก็บมาจนครบ 2 ตัวในสกุลนี้



    Aec.dichlamydea  ดอกมันสวยขนาดนี้เลยหรือ บ้านเรามีหรือเปล่า อยากเห็นดอก ตัวเป็นๆ




Til ในคอสตาริกา เขาเลี้ยงขายเป็นอาชีพมานานแล้ว



     เมื่อก่อน ไม่มีกล้อง digital ครับ  มือถือ ยังเป็นแบบหิ้ว อย่างกับทหาร อยู่เลย  การจะเก็บข้อมูลไว้ Reference ทำได้วิธิเดียว   ที่กาๆ นั้น กลับบ้านเก่าไปแล้วนะ



Dyckia ก็มีนะ 


     เมื่อก่อนจะหนักไปทาง Til    Dyckia บ้านเรายังไม่มีเข้ามาเท่าไหรเลย



     มีรายละเอียดหมด ไม้มาเมื่อไหร จากใคร ราคาเท่าไหร (ปัจจุบันก็ยังทำอยู่แต่อยู่บน excel แล้ว)


     ที่ร่ายมาทั้งหมด ก็แค่อยากให้เพื่อนๆ ศึกษาให้รู้ให้ลึก แล้วเราจะสนุกครับ โม้ได้เยอะ 5555

เอาความหลังมาเล่า หรือเราจะอายุมากแล้ว อิๆๆ


Acanthostachys strobilacea ไม้แปลกๆ ที่ออกลูกที่ใบ แต่เลี้ยงมายังไม่เคยเห็นเลย


Acanthostachys pitcairnioides ไม้อีกตัว ของสกุลนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น